
5 สิ่งต้องรู้ในการให้อาหารลูกแมว
แม้จะขึ้นชื่อว่า ‘แมว’ เหมือนกัน แต่เมื่ออยู่ในคนละช่วงวัย บรรดาลูกแมวและแมวโตเต็มวัย ก็ต่างมีองค์ประกอบทางกายภาพและความต้องการทางโภชนาการที่ต่างกัน ดังนั้น การให้อาหารจึงถือว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษเพราะเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรงต่อการเติบโตและการอยู่รอดของลูกแมว เพื่อช่วยให้เพื่อนๆสามารถดูแลลูกแมวของตนเองได้อย่างมีความสุขและสุขภาพดี วันนี้ PCG จึงนำหลัก 5 ประการสำคัญที่ควรรู้เมื่อต้องเริ่มให้อาหารลูกแมวมาฝากกันค่ะ พร้อมแล้ว ก็มาลุยกันเลย
1. โภชนาการของลูกแมวและแมวโตเต็มวัยแตกต่างกันอย่างไร?
ในช่วงสัปดาห์แรก ลูกแมวจะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสามารถสังเกตจากน้ำหนักที่จะเพิ่มขึ้น 2 ถึง 3 เท่า ฉะนั้นการเติบโตอย่างรวดเร็วดังกล่าวส่งผลให้พวกเขาต้องการพลังงานที่มากเป็นพิเศษและอาหารเพียงแค่ 1 มื้อจึงไม่เพียงพอ “ลูกแมวส่วนใหญ่ต้องการที่จะกินอย่างน้อย 3-4 มื้อต่อวัน” Jennifer Larsen สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำโรงพยาบาล Veterinary Medical Teaching Hospital มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกล่าว “การกินจุบจิบยังช่วยทำให้ลูกแมวรู้สึกดี คุณต้องเข้าใจว่าลูกแมวเป็นนักกินจุบกินจิบโดยธรรมชาติเลยค่ะ”
สำหรับโภชนาการด้านไขมันและวิตามันส่วนใหญ่สำหรับลูกแมว จะมีลักษณะคล้ายกับแมวโตเต็มวัย ยกเว้นโปรตีน, กรดอะมิโน และแร่ธาตุที่ลูกแมวจะต้องการมากกว่าเป็นพิเศษ
2. อาหารลูกแมวแบบเม็ด vs อาหารลูกแมวแบบเปียก?
ลูกแมวสามารถกินได้ทั้งอาหารลูกแมวแบบเม็ดและอาหารลูกแมวแบบเปียก ลูกแมวบางตัวอาจจะชอบอาหารแบบเม็ดหรือแบบเปียกมากกว่า PCG ขอแนะนำว่าให้ลองเริ่มให้แบบผสมผสานระหว่างอาหารลูกแมวแบบเม็ดและอาหารลูกแมวแบบเปียกก่อนค่ะ สาเหตุก็เพราะอาหารแบบเม็ดและแบบเปียก จะมีความจำเป็นและความสำคัญของมัน เช่น อาหารแบบเม็ดจะช่วยให้ลูกแมวฝึกเคี้ยวและดีต่อสุขภาพช่องปาง ส่วนอาหารแบบเปียกจะมีกลิ่นหอมกว่าเคี้ยวง่ายกว่า เหมาะสำหรับแมวบางตัวที่มีฟันเล็กมากๆ การฝึกให้ลูกแมวกินสลับกันระหว่างอาหารลูกแมวแบบเม็ดและอาหารลูกแมวแบบเปียก อย่างไรก็ดี เมื่อให้แล้วก็อาจจะต้องมาสังเกตพฤติกรรมการกินของลูกแมวเราอีกครั้งค่ะว่าเขาชอบ อาหารลูกแมวแบบเม็ด หรือ อาหารลูกแมวแบบเปียก และเราก็ค่อยให้อาหารประเภท นั้นมากกว่าค่ะ
3. อยากจะเปลี่ยนประเภทอาหารให้ลูกแมว ควรทำอย่างไร?
อีกหนึ่งปัญหาที่ผู้เลี้ยงหลายคนมักประสบก็คือการพบว่าเมื่อเราเปลี่ยนประเภทอาหาร ความชอบของลูกแมวก็มักจะไม่เปลี่ยนตามไปด้วย โดยที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะแมวเองก็มีการพัฒนานิสัยการกินคล้ายคลึงกับมนุษย์เช่นกันค่ะ กล่าวคือ เมื่อเขากินอาหารชนิดใดเป็นประจำ ก็มักจะติดรสอาหารประเภทดังกล่าวและเปลี่ยนใจยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนกันไม่ได้เลย โดยข้อแนะนำแรกสำหรับผู้ที่อยากลองเปลี่ยนก็คืออย่า เปลี่ยนอาหารใหม่ในทันที ให้ค่อยๆผสมอาหารเดิม กับอาหารใหม่เข้าด้วยกัน โดยให้มีอาหารเดิมมากกว่าอาหารใหม่ และค่อยๆลดปริมาณอาหารเดิมลง และเพิ่มปริมาณอาหารใหม่ขึ้นเรื่อยๆ จนเปลี่ยนเป็นอาหารใหม่ทั้งหมด ซึ่งระยะเวลาในการเปลี่ยนอาหาร ทางเราแนะนำว่าให้ค่อยๆทำค่อยๆเปลี่ยน ภายในเวลา 7 วัน หรือ อีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจ คือ ใส่อาหารใหม่และอาหารเดิมไว้คนละชาม และเมื่อเวลาล่วงเลย ให้ค่อยๆ ลดปริมาณของอาหารเดิมลง อันนี้เป็นเทคนิคที่จะทำงานกับความหิวของแมวโดยตรง กล่าวคือ เมื่อแมวเริ่มหิวมากขึ้นแต่พบว่าปริมาณอาหารที่ชอบไม่เพียงพอ เขาก็จะเริ่มยอมลองอาหารประเภทใหม่และเมื่อถึงจุดนั้นเราก็จะสามารถสร้างนิสัยการกินใหม่ให้เขาได้ค่ะ
4. วิธีการให้อาหารลูกแมวที่ดีที่สุด
อย่างที่กล่าวในช่วงต้นว่าลูกแมว โดยเฉพาะในช่วงแรก จะต้องการพลังงานจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้วิธีการให้อาหารในช่วงแรกจึงสามารถให้ได้อย่างอิสระ หรือแทบจะวางไว้ได้เลยตลอดเวลา การให้อาหารอย่างอิสระยังช่วยให้ลูกแมวเลือกกินได้อย่างทีละเล็กละน้อย และช่วยให้แมวที่อาจจะมีน้ำหนักน้อยเร่งเติบโต ทว่า สำหรับลูกแมวที่มีน้ำหนักมาก ควรเลือกให้เป็นมื้อมากกว่า
5. ประเภทอาหารที่ไม่ควรให้ลูกแมว
ลูกแมวสามารถกินบรรดาขนมหรืออาหารนอกเหนือจากบรรดามื้อหลักได้ค่ะ โดยมีข้อแนะนำคือควรให้ในปริมาณแคลอรีเพียงแค่ 10% จากปริมาณแคลอรีโดยรวม อย่างไรก็ดี มีอาหารบางประเภทเช่นกันที่ลูกแมวของคุณไม่ควรเข้าใกล้ ได้แก่
- เนื้อสัตว์สด – อาจมีบรรดาพยาธิและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อลูกแมว
- ไข่ไก่สด – อาจมีเชื้อก่อโรคซาลโมเนลล่าและลดความสามารถในการดูดซับวิตามิน B นำไปสู่ปัญหาผิวหนังและขน
- ปลาสด – อาจนำไปสู่ภาวะวิตามิน B บกพร่อง และความไม่ยากอาหาร, อาการชักและกระทั่งการเสียชีวิต
- นม – อาจก่อให้เกิดโรคท้องร่วง โดยเฉพาะในลูกแมวที่กำลังอ่อนแอ
- และอาหารประเภทอื่นที่สามารถเป็นพิษต่อลูกแมว ได้แก่ หัวหอม, กระเทียม, ช็อกโกแลต, กาแฟ, ชา, องุ่น เป็นต้น
และนี่ก็คือ 5 ประการสำคัญเกี่ยวกับการให้อาหารลูกแมวที่วันนี้ PCG นำมาฝากทุกท่านค่ะ ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญเลยทีเดียวที่ต้องคำนึงถึงเสมอในยามที่ต้องดูแลูกแมว PCG หวังเป็นอย่างยิ่งบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านเข้าใจโภชนาการและความแตกต่างของลูกแมวและแมวโตเต็มวัย, ความจำเป็นในการเลือกให้อาหารลูกแมวแบบเม็ดและอาหารลูกแมวแบบเปียกอย่างผสมผสานกัน และประเด็นอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น แล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไปนะคะ
อ้างอิง