โรคพิษสุนัขบ้า
16.01.2018
Dog
Tips for raising animals

โรคพิษสุนัขบ้า

Share:
Loading...

เนื่องจากหากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเดินทางเข้าสู่ระบบประสาท ทำให้เป็นอัมพาต และตายในที่สุดทั้งในสัตว์และคน  ซึ่งโรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว กระต่าย กระรอก หนู ลิง ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ และมนุษย์

ที่มาของคำว่า โรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากคนติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจากสุนัขมากที่สุดมากกว่า 90%  อันดับ 2 ได้แก่ แมว และอันดับรองลงมาได้แก่ นก หนู กระรอก ลิง

โรคพิษสุนัขบ้า

Cr:www.bloggang.com/

การติดต่อ

สัตว์ป่วยสามารถแพร่เชื้อทางน้ำลายและเลือด  1-7 วัน ก่อนแสดงอาการจนกระทั่งสัตว์เสียชีวิต เราสามารถติดเชื้อไวรัสผ่านทางการกัด ข่วน  เลีย  น้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ สัมผัสบาดแผล หรือ กระเด็นเข้าปาก ตา

หากเราถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า กัด ข่วน หรือ น้ำลายของสัตว์สัมผัสเยื่อเมือก ควรรีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง และใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดแผล เช่น เบตาดีน จะช่วยลดปริมาณเชื้อที่จะเข้าสู่ร่างกายได้ หลังจากนั้นรีบไปหาหมอที่โรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยให้เร็วที่สุด และกักสัตว์ที่สงสัยว่าติดเชื้อพิษสุนัขบ้าเป็นเวลา 10 วัน เพื่อดูอาการ โดยให้น้ำและอาหาร ตามปกติ

โดยเมื่อเราไปหาหมอ

 - คนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน จะได้รับการฉีดวัคซีน และเซรุ่ม ในวันที่โดนกัด และหลังจากนั้นต้องมาฉีดวัคซีนกระตุ้น อีก 4 เข็ม ใน 3 7 14 และ 30 วัน หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก

- คนที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาแล้ว เกิน 6 เดือน จะได้รับการฉีดวัคซีน ในวันที่โดนกัด และหลังจากนั้น และฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็ม 3 วัน หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก

- คนที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาแล้ว ไม่เกิน 6 เดือน จะได้รับการฉีดวัคซีน ในวันที่โดนกัด เพียงเข็มเดียว

นอกจากวัคซีนพิษสุนัขบ้าแล้ว บาดแผลที่โดนสัตว์กัดหรือข่วน มีความเสี่ยงการติดเชื้อบาดทะยักด้วย ดังนั้นหมออาจพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักด้วย ในกรณีดังต่อไปนี้

- คนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักมาก่อน จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก 1 เข็ม

- คนที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักมาก่อน และมากกว่า 5 ปี จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก 1 เข็ม หรือไม่ ขึ้นกับลักษณะของบาดแผล หากปากแผลแคบ และลึก หรือแผลเป็นโพรง อากาศเข้าไปได้ไม่ทั่วถึง ต้องฉีดเนื่องจากเชื้อบาดทะยักเจริญเติบโตได้ดีในที่ไม่มีอากาศหรือออกซิเจน

- คนที่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยักมาน้อยกว่า 5 ปี ไม่ต้องฉีด

อาการ

อาการของโรคพิษสุนัขบ้าในคน ได้แก่ เป็นไข้ เจ็บคอ เบื่ออาหาร กลืนลำบาก เจ็บเสียวที่แผล ไวต่อเสียงและแสงผิดปกติ กลัวน้ำ เกร็ง เป็นอัมพาต และตายในที่สุด

ในสัตว์ที่ติดเชื้อ จะมีระยะฟักตัวของโรค 3- 8 สัปดาห์ ไม่เกิน 6 เดือน โดยอาการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะแรก สัตว์จะมีพฤติกรรมและลักษณะนิสัยที่เปลี่ยนไปจากเดิม

ระยะตื่นเต้น เชื้อเริ่มเข้าสู่ระบบประสาท สัตว์จะมีอาการ ตื่นเต้น หงุดหงิด กระวนกระวาย ม่านตาขยาย

ระยะอัมพาต เชื้อเข้าสู่ประสาทส่วนกลางและสมอง ทำให้ น้ำลายไหล คอตก อ่อนแรง ทรงตัวไม่ได้ เป็นอัมพาต และตายในที่สุด

โรคพิษสุนัขบ้า

Cr:https://pet.kapook.com/view156330.html

การป้องกัน

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคร้ายแรง ถึงแก่ชีวิต แต่สามารถป้องกันได้โดย

  1. คาถา 5 ย ได้แก่
  • อย่าแหย่ ให้สัตว์โมโห
  • อย่าเหยียบ หาง หัว ขา หรือทำให้สัตว์ตกใจ
  • อย่าแยก สัตว์ที่กำลังกัดกัน ด้วยมือเปล่า
  • อย่าหยิบ จาน หรือย้ายอาหารในขณะที่สัตว์กำลังกิน
  • อย่ายุ่ง หรือเข้าใกล้สัตว์แปลกหน้า หรือไม่มีเจ้าของ
  1. ฉีดวัคซีนป้องกัน

ในคน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ครั้งแรก ทั้งหมด 3 เข็ม โดยฉีดอีก 2 ครั้ง คือ ห่างจากเข็มแรก  7 และ 28 วัน และฉีดกระตุ้นทุกปีในกลุ่มเสี่ยง เช่น สัตวแพทย์ และกลุ่มคนที่ทำงานใกล้ชิดกับสัตว์แปลกหน้า

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในความดูแลของเรา ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยเริ่มฉีดได้ตั้งแต่ลูกสัตว์อายุ 3 เดือนขึ้นไป และฉีดเข็มที่ 2 ใน 1-3 เดือน จากเข็มแรก และฉีดกระตุ้นซ้ำทุกปี

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นที่มีความสำคัญระดับโลก โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปี เป็นวันพิษสุนัขบ้าโลก และในประเทศไทย ยังพบผู้เสียชีวิตจากเชื้อพิษสุนัขบ้าอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเราควรดูแลเอาใจใส่บุคคลในครอบครัว หรือบุตรหลาน ด้วยคาถา 5 ย และฉีดวัคซีนในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงกันนะคะ นอกจากนั้นเราควรนำสัตว์เลี้ยงของเราไปฉีดวัคซีนป้องกนโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปีด้วยค่ะ

Article Relates

  • ฉีดยาคุมให้สุนัข อันตรายถึงตาย
    07.01.2016

    ฉีดยาคุมให้สุนัข อันตรายถึงตาย

    Read more
    Dog
  • (Hip dysplasia)
    08.06.2015

    โรคข้อสะโพกเสื่อมในสุนัขพันธุ์ใหญ่ (Hip dysplasia)

    Read more
    Dog
  • ภาวะภูมิแพ้อาหารในสุนัข
    05.09.2016

    ภาวะภูมิแพ้อาหารในสุนัข

    Read more
    Dog
  • "ช็อกโกแลต" ของหวาน ที่ไม่หวาน สำหรับสุนัข
    08.03.2018

    "ช็อกโกแลต" ของหวาน ที่ไม่หวาน สำหรับสุนัข

    Read more
    Tips for raising animalsDog
  • “ฟันในสุนัข”
    20.09.2019

    “ฟันในสุนัข”

    Read more
    DogTips for raising animals