
ปลาคราฟจักรพรรดิ์ ราชาแห่งปลาคราฟ ครีบยาวพลิ้วไหวสวยงาม
การเลี้ยงดูปลาคราฟจักรพรรดิ์ ให้ครีบสวย แข็งแรง
ปลาคราฟ เป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนเลี้ยงปลาเป็นอย่างมาก ด้วยสีสันที่มีความสวยงาม อีกทั้งยังเป็นปลาที่เชื่อง และเลี้ยงง่าย นอกจากนี้ปลาคราฟยังเป็นปลาที่เชื่อกันว่าช่วยเสริมพลังงานดีให้กับผู้เลี้ยง ทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งปลาคราฟก็มีด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ สำหรับปลาคราฟสายพันธุ์ที่จะมาแนะนำให้รู้จักกันในวันนี้คือ ปลาคราฟจักรพรรดิ์ เป็นปลาคราฟที่มีครีมที่มีความพลิ้วไหล สวยงาม
ความเป็นมาของ ปลาคราฟจักรพรรด์
ปลาคราฟเป็นปลาที่มีต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่น และเริ่มได้รับความสนใจ แพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่สำหรับปลาคราฟจักรพรรดิ์นั้น เป็นสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย แต่ประเทศไทยเห็นถึงความสวยงาม จึงนำมาพัฒนาสายพันธุ์ ทดลองจนได้ปลาคราฟจักรพรรดิ์ที่มีความแข็งแรง และสวยงามในปัจจุบัน
ลักษณะปลาคราฟจักรพรรดิ์
ปลาคราฟจักรพรรดิ์ หรือปลาคราฟบัตเตอร์ฟลาย (Butterfly Koi) เป็นปลาคราฟที่มีหาง และครีบที่ยาวกว่าปลาคราฟทั่ว ๆ ไป ทำให้เวลาว่ายครีบจะมีความพลิ้วไหว เหมือนกับผีเสื้อที่กำลังบิน ซึ่งลักษณะปลาคราฟที่ดีนั้นจะต้องมีลักษณะ ดังนี้
- ลำตัว : ลำตัวปลาคราฟจักรพรรดิ์จะต้องเรียวยาว กลม แต่ไม่อ้วน
- หัว : ส่วนหัวของปลาคราฟจะต้องมีความแข็งแรง ไม่บูดเบี้ยว
- ครีบ : ครีบจะมีความพลิ้วไหว ยาวเสมอลำตัว
- หาง : หางปลาคราฟจะต้องมีความยาว ไม่มีรอยฉีก
ประเภทของปลาคราฟจักรพรรด์ หรือ ปลาคราฟบัตเตอร์ฟลาย (Butterfly Koi)
ปลาคราฟจักพรรดิ์ หรือหลาย ๆ คนเรียกว่าปลาคราฟบัตเตอร์ฟลาย เป็นปลาที่มีครีบและหางที่ยาว เวลาว่ายก็จะมีความพลิ้วไหว เหมือนกับต้นสาหร่ายที่ถูกพัดไปตามกระแสน้ำ แม้จะมีครีบและหางที่ยาวกว่าปลาคราฟทั่ว ๆ ไป แต่เวลาว่ายก็มีความสง่างาม มีความสมดุล ไม่ว่ายเอียง หรือส่ายไปมา ซึ่งประเภทของปลาคราฟจักรพรรด์นั้นมี ดังนี้
- Butterfly Kohaku
- Butterfly Taisho Sanshoku
- Butterfly Showa Sanshoku
- Butterfly Shiro Bekko
- Butterfly Shiro Utsuri
- Butterfly Hikari moyomono
นิสัยของปลาคราฟจักรพรรดิ์ที่ควรรู้
ปลาคราฟจักรพรรดิ์ เป็นปลาคราฟที่มีนิสัยเชื่องเหมือนปลาคราฟทั่ว ๆ ไป อีกทั้งยังกินเร็ว กินเก่ง และชอบคุ้ยหาอาหารตามซอกหินด้วย ทำให้อาจเกิดปัญหาน้ำขุ่นได้ง่าย จึงต้องมีการหมั่นเปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอ หรือหลีกเลี่ยงการจัดตู้ปลาด้วยหิน เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาคราฟขุ้ยเขี่ยได้ อีกทั้งยังช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค และเศษอาหารอีกด้วย
การให้อาหารปลาคราฟจักรพรรดิ์ และการเลี้ยงดู
ปลาคราฟจักรพรรดิ์มีความแตกต่างจากปลาคราฟทั่วไป เพียงรูปร่าง และลักษณะภายนอกเท่านั้น ในส่วนของวิธีการเลี้ยงปลาคราฟ การให้อาหาร และการเลี้ยงดูก็เหมือนกับปลาคราฟทั่ว ๆ ไป โดยให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น สามารถให้ได้ทั้งพืช และสัตว์ โดยปกติการให้อาหารปลาคราฟควรให้ประมาณไม่เกิน 3% ของน้ำหนักตัวปลา ที่สำคัญควรเลือกอาหารที่มีส่วนผสมของสาหร่าย เพื่อช่วยให้ปลาคราฟมีสีสีนที่สวยงาม นอกจากนี้หากให้แล้ว ปลาคาร์พ กินอาหารไม่หมด ควรรีบช้อนออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย
สถานที่ที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาคราฟจักรพรรดิ์
ปลาคราฟสามารถเลี้ยงได้ทั้งในตู้ และในบ่อปลา ยิ่งเลี้ยงในบ่อที่มีขนาดใหญ่ ปลาคราฟก็จะยิ่งตัวโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่ด้วยลักษณะของปลาคราฟจักพรรดิ์ที่มีครีบและหางที่ยาวกรุยกราย จึงควรเลือกสถานที่ในการเลี้ยงที่มีความโล่ง ไม่ควรจัดตู้ที่มีสิ่งกีดขวางมากนัก เพราะจะทำให้ปลาคราฟจักรพรรดิ์ว่ายได้ไม่คล่องตัว หากหางหรือครีบไปเกี่ยวเข้าก็อาจจะทำให้ฉีกขาด ร่างกายไม่สมส่วน ขาดความสมดุล จนว่ายน้ำเอียง
สรุป
ปลาคราฟจักรพรรดิ์ หรือบางคนอาจจะรู้จักในชื่อ ปลาคราฟบัตเตอร์ฟลาย เป็นปลาคราฟสายพันธุ์หนึ่งที่ครีบและหางจะยาวกว่าปลาคราฟทั่วไป ทำให้เวลาว่ายน้ำมีความพริ้วไหวสวยงาม จนได้รับการขนานนามว่าเป็น ราชาแห่งปลาคราฟ สำหรับปลาคราฟสายพันธุ์นี้ พบครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย แต่ประเทศไทยได้พัฒนาสายพันธุ์จนมีความแข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศ สามารถเลี้ยงได้ง่าย สำหรับปลาคราฟจักรพรรดิ์ก็เหมือนกับปลาคราฟทั่วไป ทั้งนิสัย และการเลี้ยงดู ซึ่งวิธีการเลี้ยงปลาคราฟให้มีความแข็งแรง โตเร็ว สีสันสวยงามนั้น จะต้องใส่ใจเรื่องของอาหาร ควรเลือกอาหารที่มีส่วนผสมของสาหร่าย เพื่อช่วยให้ปลาคราฟมีสีสันที่สวยงาม นอกจากนี้ในอาหารปลายังควรมีสารอาหารอื่น ๆ อีกด้วย เพื่อช่วยให้ปลาแข็งแรง ไม่ป่วยได้ง่าย หากใครชอบอ่านบทความเกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยเช่น แมวพันธุ์วิเชียร์มาศ สามารถติดตามอ่านได้เลย