
คู่มือสำหรับทาสแมวมือใหม่: วิธีเลี้ยงลูกแมวให้มีสุขภาพดีและมีความสุข
หมวดที่ 1: ธรรมชาติและพัฒนาการของลูกแมว
สำหรับมือใหม่ การทำความเข้าใจพัฒนาการหรือธรรมชาติการเติบโตของลูกแมวก่อนเป็นอันดับแรกจะช่วยให้คุณมองเห็น ‘แนวทางการเลี้ยงดู’ ของคุณอย่างชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยในแต่ละช่วงวัยลูกแมวจะมีพัฒนาการและความต้องการสำคัญใดบ้าง มาเรียนรู้กันผ่านตารางสรุปนี้เลย
ตารางที่ 1. พัฒนาการและความต้องการสำคัญของลูกแมวในแต่ละช่วงอายุ
อายุ | พัฒนาการและความต้องการสำคัญ |
---|---|
น้อยกว่า 8 สัปดาห์ |
|
8 - 11 สัปดาห์ |
|
2-3 เดือน |
|
4-6 เดือน |
|
ล่วงเข้า 1 ปี |
|
หมวดที่ 2: การให้นมและอาหาร
ในตารางข้างต้น เราได้เรียนรู้แล้วว่าลูกแมวในช่วงอายุแรกเริ่มจะต้องการนมเป็นหลักในขณะที่เมื่อเริ่มเข้า 4 สัปดาห์ พวกเขาจะเริ่มต้องการอาหารลูกแมวแบบปกติ โดยในรายละเอียด สามารถสรุปออกมาได้ดังนี้ค่ะ
- นม - ลูกแมวช่วงอายุ 0-4 สัปดาห์
สำหรับวิธีเลี้ยงลูกแมวแรกเกิด หากมีแม่แมวคอยอยู่เคียงข้าง แน่นอนว่าในช่วงนี้ ผู้เลี้ยงก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการให้นมเนื่องจากแม่แมวก็จะเป็นผู้คอยให้นมลูกเอง
ทว่าสำหรับใครที่เลี้ยงลูกแมวกำพร้าหรือรับลูกแมวเดี่ยวมาเลี้ยง สามารถเลือกให้ ‘นมทดแทน’ 2 ประเภท ได้แก่
1.1) ประเภทนมผง - เป็นสูตรนมผงเฉพาะที่แต่ละแบรนด์อาจคิดค้นและผลิตออกมาตามแต่จุดขายของแต่ละแห่ง
1.2) ประเภทแบบเหลว - สำหรับนมแบบเหลว ส่วนใหญ่ก็จะเป็นน้ำนมแท้แบบพร้อมทาน (ไม่ต้องรอน้ำอุ่น ไม่ต้องชง) เพียงแค่เปิดฝาแล้วเทลงในชาม ลูกแมวก็สามารถทานได้เลย โดยสำหรับในนมประเภทนี้ แนะนำให้เลือกเป็นเฉพาะ ‘นมแพะ’ เท่านั้นนะคะ เนื่องจากเป็นน้ำนมประเภทเดียวที่เหมาะกับระบบขับถ่ายและร่างกายของแมวมากที่สุด ไม่ควรให้นมวัว
- อาหาร - ลูกแมวช่วงอายุ 4 สัปดาห์ขึ้นไป
ลูกแมวในช่วงวัยนี้ควรเริ่มเข้าสู่ภาวะหย่านมและเริ่มกินอาหารแมวแบบปกติ อาหารแมวส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 2 แบบได้แก่ อาหารแมวแบบเปียกและอาหารแมวแบบเม็ด และสำหรับลูกแมวก็เช่นเดียวกัน โดยสำหรับในช่วงแรก PCG แนะนำว่าควรเลือกให้เป็น ‘อาหารลูกแมวแบบเปียกก่อน’ เนื่องจากเคี้ยวง่ายกว่าและช่วยให้ลูกแมวอิ่มเร็วในอัตราที่เหมาะสม (เพราะสัดส่วนน้ำที่มากกว่าอาหารแบบเม็ด) และเมื่อลูกแมวของเราเริ่มคุ้นชินกับอาหาร จึงอาจเริ่มผสมผสาน ‘อาหารแมวแบบเม็ด’ ร่วมด้วยซึ่งจะมีโภชนาการสำคัญอีกแบบที่สำคัญต่างจากแบบเปียก อย่างไรก็ดี อย่าลืมว่าลูกแมวส่วนใหญ่จะต้องการพลังงานมากกว่าแมวผู้ใหญ่เป็นพิเศษ อย่างน้อย 3-4 มื้อต่อวัน รวมทั้งการให้น้ำดื่มสะอาดควบคู่
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้อาหารลูกแมว สามารถอ่าน 5 สิ่งต้องรู้ในการให้อาหารลูกแมว
หมวดที่ 3: การฝึกขับถ่าย
สำหรับลูกแมวในช่วง 0-4 เดือน (ช่วงเริ่มแรก, ช่วงป้อนนม) ร่างกายของเขาจะยังไม่สามารถขับถ่ายด้วยตนเองได้โดยง่ายแต่ต้องอาศัยแรงกระตุ้นจากแม่แมวหรือผู้เลี้ยงสักหน่อย โดยสำหรับผู้เลี้ยง หลังป้อนนมเสร็จเรียบร้อยแล้วในแต่ละครั้ง สามารถใช้สำลีชุบกับน้ำอุ่น เช็ดบริเวณก้นลูกแมวไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเขาจะเริ่มขับถ่ายออกมา หากยังไม่ขับถ่าย ก็ให้รอรอบหลังให้นมครั้งถัดไป ทำเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยให้ลูกแมวมีสุขภาพการขับถ่ายที่ดี
เมื่อลูกแมวอายุเริ่ม 4 สัปดาห์และเริ่มเดินได้ สามารถหากระบะทรายมาวางไว้และฝึกให้เขาขับถ่ายในกระบะทรายดังกล่าว เมื่อพบของเสียงในกระบะทราย ก็ให้ตักออกเรื่อย ๆ และควรเปลี่ยนทรายและล้างกระบะอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 หรือ 2 ครั้ง เพื่อรักษาความสะอาดและสุขภาพระบบขับถ่ายของลูกแมว
หมวดที่ 5: การพบสัตวแพทย์
คล้ายกับมนุษย์เช่นเรา ลูกแมวเองก็ต้องการการดูแลจากแพทย์ตั้งแต่แรกเริ่ม ไม่ว่าจะเป็นการตรวจร่างกายและการฉีดวัคซีน PCG ขอแนะนำว่าเหล่าพ่อ-แม่แมวทุกท่านควรนัดหมายพบปะกับสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรืออย่างน้อยไม่ควรเกิน 1 อาทิตย์หลังจากรับแมวมา สาเหตุก็เพราะยิ่งเร็วเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งเห็นภาพรวมการดูแลด้านสุขภาพของลูกแมวเรามากขึ้น และควรปฏิบัติตามนัดฉีดวัคซีนที่สัตวแพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด
หมวดที่ 6: การฝึกให้เชื่องและคุ้นชินกับผู้คน
อีกหนึ่งประการสำคัญที่ผู้เลี้ยงไม่ควรมองข้ามก็คือการฝึกให้ลูกแมวคุ้นชินกับผู้คนและสังคมตั้งแต่แรกเริ่มเนื่องจากการฝึกในช่วงนี้จะช่วยให้เขามีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นได้ง่ายขึ้นเมื่อยามเติบโต รวมทั้งยังถือเป็นช่วงเวลาการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เลี้ยงและลูกแมว
โดยก้าวแรกในกระบวนการนี้แน่นอนว่าคือการเตรียม ‘ที่ข่วนเล็บแมว’ มาไว้ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากเนื่องจากส่วนใหญ่แมวจะมีพฤติกรรมข่วน การเตรียมที่ข่วนเล็บแมวไว้จะช่วยให้เขาไม่ข่วนทั้งผิวหนังผู้เลี้ยงและสิ่งของภายในที่อยู่ และเมื่อใดที่เราพบว่าเขาอาจข่วนสิ่งของ ก็ค่อย ๆ ชักชวนให้เขาไปข่วนที่ข่วนแทน จะช่วยให้เขาพัฒนานิสัยข่วนเป็นที่ได้ค่ะ นอกจากนี้ยังอาจเตรียมของเล่นไว้ให้เขาและพาเขาออกไปเดินเล่นบ้างเป็นบ้างครั้ง ให้ได้พบเจอกับแมวตัวอื่น ๆ และใช้เวลากับผู้คน
จบลงแล้วสำหรับคู่มือการเลี้ยงลูกแมวฉบับเพื่อเหล่าพ่อแม่มือใหม่ที่วันนี้ PCG ได้นำมาฝากทุกท่าน ทุกข้อถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญทีเดียวที่จะทำให้ลูกแมวของเราเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ ในบทความคราวถัดไป เราจะมาพร้อมกับหัวข้อใดเพื่อเหล่าทาสแมวกันอีก อย่าลืมติดตามกันนะคะ